Hashflow คืออะไร

แก้ไขเมื่อ วันอังคาร, 12 ธันวาคม, 2023 เมื่อ 1:54 PM


Hashflow เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนแบบกระจายอำนาจ (DEX) ถูกออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การซื้อขายที่ราบรื่นแก่ผู้ใช้โดยการรวมสภาพคล่องจากหลายแหล่ง ช่วยให้มั่นใจได้ว่ามีสภาพคล่องสูงและใช้เวลาในการทำธุรกรรมรวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ Hashflow ยังเสนอค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต่ำที่สุดให้กับผู้ใช้เมื่อเทียบกับ DEX อื่น ๆ


ในปัจจุบันได้มีแพลตฟอร์มแบบกระจายอำนาจหรือกระจายศูนย์ (DEX) ที่เริ่มมี Automated Market Maker (AMM) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ช่วยให้การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลแบบกระจายอำนาจมีความหลากหลายมากขึ้น ในขณะที่ทุกตัวยังจำเป็นต้องมี TVL (Total Volume Locked) เพื่อสร้างสภาพคล่อง แต่สำหรับ Hashflow นั้นไม่จำเป็น จึงทำให้ Hashflow สามารถป้องกันปัญหา Maximal Extractable Value (MEV) ที่เป็นผลกำไรจากการที่ผู้ตรวจสอบต้องยืนยันธุรกรรมด้วยการเรียงลำดับใหม่ หรือตัดธุรกรรมบางรายการออกไปจากบล็อก ส่งผลให้ผู้ใช้งานบางรายต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเพื่อให้ธุรกรรมของตนเองได้รับการบรรจุลง แต่สำหรับ Hashflow จะทำให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ได้ภายในไม่กี่วินาที และการเสนอราคาทั้งหมดจะดำเนินการตามราคาที่แสดง ส่งผลให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์สูงสุด


แพลตฟอร์ม Hashflow มีโทเคนดั้งเดิมที่ชื่อว่า HFT เป็นโทเคน ERC-20 ที่สามารถใช้ชำระค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมและเข้าถึงคุณสมบัติพิเศษบนแพลตฟอร์ม โทเคน HFT ถูกสร้างขึ้นบน Ethereum Blockchain ซึ่งได้รับการตรวจสอบด้วยระบบฉันทมติ หรือ Proof-of-stake (PoS) และมีสัญญาโทเคน HFT ที่ได้รับการตรวจสอบโดย Quanstamp



ใครคือผู้สร้าง Hashflow


Varun Kumar คือผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Hashflow เขาเคยเป็นวิศวกรการบินและอวกาศให้กับศูนย์ German Aerospace Center ขององค์กร Udacity และ NASA เขาเคยศึกษาสาขาวิชาการบินและอวกาศที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แต่เลื่อนการศึกษาในระดับปริญญาเอกออกไป


ส่วน Victor Ionescu ผู้ร่วมก่อตั้งและ CTO ของ Hashflow ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานที่ Airbnb Facebook และ Google โดยเป็นผู้นำโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และจัดการทีมข้ามสายงาน เขาได้รับวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Oxford


image


อ้างอิง

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่?

เยี่ยมเลย!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

ขออภัยที่เราช่วยเหลือไม่ได้!

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณ

บอกให้เราทราบว่าเราจะปรับปรุงบทความนี้ได้อย่างไร!

เลือกเหตุผลอย่างน้อยหนึ่งข้อ
ต้องมีการตรวจสอบ CAPTCHA

ส่งข้อเสนอแนะแล้ว

เราขอขอบคุณในความพยายามของคุณ และจะพยายามแก้ไขบทความดังกล่าว